ดอกรัก มีความหมายอย่างไร และ เหมาะสำหรับใช้ทำอะไร

Dahlia-news-site

เมื่อพูดถึง ‘ดอกรัก’ คุณผู้อ่านคงนึกถึงดอกไม้ที่มีรูปร่างแปลกตา ซึ่งมักนำมาประกอบในงานมงคลต่างๆ รวมทั้งนำมาร้อยห้อยอยู่ที่ชายของพวงมาลัย ซึ่งดอกไม้ชนิดนี้มีความหมายทางด้านมงคล สื่อถึงความรักอันหวานชื่น หรือสื่อถึงเรื่องรักๆใครๆ สำหรับในวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับดอกไม้ชนิดนี้ให้ดีขึ้นกันค่ะ

ประเพณีและความเชื่อของไทยที่เกี่ยวข้องกับดอกรัก

ตามประเพณีโบราณที่มีตั้งแต่นมนานในประเทศไทย นิยมนำดอกรักมาร้อยเป็นมาลัยพร้อมกับดอกมะลิ, ดาวเรือง, จำปา และกุหลาบ ซึ่งนำมาใช้ในงานมงคลที่เกี่ยวกับความรัก เนื่องจากดอกรักเป็นดอกไม้ ที่สื่อความหมายถึงความรัก เช่น งานหมั้น, งานแต่งงาน เป็นต้น จากการใช้ในพิธีขันหมากหมั้น, ขันหมากแต่ง, ร้อยเป็นมาลัยให้แก่คู่บ่าว – สาว เป็นต้น ทางด้านความเชื่อของฮาวาย พวกเขายกย่องว่ามาลัยดอกรักที่นำมาทำเป็นสร้อยคอ คือ สัญลักษณ์แห่งการเชิดชูของกษัตริย์ แต่ทางด้านประเทศอินเดีย ความหมายกลับตาลปัตรอย่างสิ้นเชิง เพราะถือว่าดอกไม้ชนิดนี้เป็นวัชพืชไม่มีประโยชน์อะไร สำหรับงานแต่งงานของคนไทย จะนำดอกรักมาร้อยเป็นพวงมาลัยพร้อมสวมให้แก่เจ้าบ่าว – เจ้าสาว อีกทั้งยังใช้ใบรักรองก้นขันเพื่อใส่สินสอดอีกด้วย

ดอกรักไม่ใช่ดอกไม้ดั้งเดิมของไทย

วิถีชีวิตของคนไทยอยู่คู่กับดอกรักมานานนับร้อยปี จนกระทั่งทำให้หลายๆคนไม่อาจทราบว่า ต้นรักแท้จริงแล้วไม่ใช่ต้นไม้ดั้งเดิมของไทย นอกจากนี้ชื่อเดิมของต้นรัก ก็มีความหมายตรงกันข้ามกับความรัก นั่นก็คือ ไม่รัก ด้วยเหตุนี้แล้วฐานะของต้นรักในประเทศเกิดจึงแตกต่างจากในประเทศไทยมาก

โดยต้นรักเป็นพืชประเภทหนึ่ง ซึ่งทนทานต่อสิ่งแวดล้อมอันเลวร้ายได้ดีอีกประเภทหนึ่ง โดยเฉพาะในสภาพดินที่ไม่มีความสมบูรณ์อีกทั้งยังเต็มไปด้วยความแห้งแล้งอันสุดแสนประมาณ ในประเทศต้นกำเนิดจึงพบดอกรักขึ้นเองตามธรรมชาติ ในพื้นที่ทั่วไปบริเวณข้างถนนและลำคลอง

ต้นรักถิ่นกำเนิด ณ อินเดีย

ต้นรักมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินเดีย โดยเป็นประเทศเขตร้อนที่เต็มไปด้วยความแห้งแล้ง ดินไม่ดี ในประเทศอินเดีย เรียกต้นรักว่า อรัก ซึ่งแปลว่าไม่รัก จากการที่คนไทยนั้นฟังไม่ถนัดจากสำเนียงที่แตกต่าง จึงเรียกว่า ‘รัก’ ทำให้ความหมายกลายเป็นตรงกันข้าม หากแต่อย่างไรก็เป็นความหมายที่ดี เพราะฉะนั้นต้น ‘รัก’ ในประเทศไทยจึงเป็นต้นไม้ที่มีฐานะพิเศษ ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของคนไทยในพิธีกรรมต่างๆ มากที่สุดอีกชนิดหนึ่ง จากความหมายที่แห้งแล้งกลายมาเป็นต้นไม้แห่งความรัก ซึ่งชาวไทยใช้แทนความรักนับตั้งแต่อดีตจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ต้นรักกับทางไสยศาสตร์

พูดถึงเรื่องในทางไสยศาสตร์ คนไทยในสมัยก่อนนิยมใช้รากต้นรักมาแกะสลักเป็นรูปเด็กขนาดเล็กแทงบอล พร้อมนำมารวมกับรูปเด็กซึ่งแกะสลักจากรากมะยม นำมารวมกันแล้วเรียกว่า ‘รักยม’ หลังจากนั้นจึงนำไปแช่ในขวดขนาดเล็ก ที่ใส่น้ำมันจันทน์ลงไป ก็กลายมาเป็นของขลังที่ชายไทยในสมัยก่อนนิยมพกไปไหนมาไหน นอกจากนี้ในส่วนของใบของรัก ก็นำมาใช้ทำเสน่ห์ให้ผู้คนรักได้ ด้วยการใช้ใบจากต้นรักซ้อนสีขาวเช่นเดียวกัน

‘ดอกรัก’ จัดเป็นสินค้าเกษตรที่ประเทศไทยต้องการตลอดทั้งปี เนื่องจากนำมาใช้ในการร้อยพวงมาลัยสวยงามนำไปใช้ในตลาดต่างๆ อีกทั้งเกษตรกรจากหลายๆสวนยังปลูกต้นรัก เพื่อเอาไว้ใช้เก็บดอกมาร้อยพวงมาลัยขายเองเป็นวงจร ส่วนใหญ่มักปลูกคู่ไปกับดอกมะลิลา เนื่องจากใช้เป็นองค์ประกอบเป็นพวงมาลัยที่ชาวไทยต่างให้ความคุ้นเคยกันมากที่สุด นอกจากนี้ยังมักปลูกต้นจำปีอีกด้วย เพราะให้ดอกได้ตลอดปีก่อให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง