การปลูกถั่วฝักยาวปลอดสารพิษ

Growing-Beans-pic

ถั่วฝักยาวอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน โดยเฉพาะในร้านอาหารที่เราจะพบมันอยู่บนจานข้าวในเมนูต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากที่จะหากินพวกมันเลย โดยเฉพาะ พวกส้มตำ หรือน้ำพริกต่าง ๆ แถมยังมีความอร่อยและเป็นที่ชื่นชอบของคนไทยส่วนใหญ่ แต่ปัญหาปัจจุบันที่พบในบ้านเราคือผักมีการตกค้างของสารพิษอยู่ทั่วไป จึงเกิดมีความคิดขึ้นว่า ทำไมเราไม่ปลูกถั่วฝักยาวปลอดสารพิษละ แน่นอนว่าจะต้องมีคนหันมาสนใจ และเป็นการเพิ่มรายได้อย่างชาญฉลาด แต่ที่แน่ ๆ การจะลงมือทำนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง จะทำอย่างไรไม่ให้ขาดทุน และประสบความสำเร็จคือเรื่องใหญ่

Growing-Beans
อันดับแรกที่เราจะต้องเตรียมก็คือ ดิน สำหรับการเพาะปลูก ด้วยการตรวจสอบความกด กรด – ด่าง ของดินว่าอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่ ด้วยการนำดินที่อยู่ลึกลงไปประมาณ 20 เซนติเมตรขึ้นมาวัด โดยค่า pH ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกแตงกวานั้นควรอยู่ที่ 5.8 – 6.5 หากเกินช่วงนี้หรือต่ำกว่าจะต้องทำการเติบสารปรับสภาพดินพูมิซซัลเฟอร์ และภูไมท์ซัลเฟต จากนั้นสิ่งที่เราต้องมีอันดับต่อไปก็เมล็ดพันธ์ถั่วฝักยาวที่เราจะนำมาปลูกในไร่ โดยเราจะต้องนำเมล็ดไปแช่ในน้ำอุ่นซัก 40 นาที แล้วนำไปห่อเก็บไว้ประมาณ 2 – 3 วัน แล้วจึงค่อยนำลงไปเพาะในหลุม โดยในแต่ละหลุมเราจะหยอดลงหลายเมล็ดอยู๋แล้วเพื่อป้องกันเมล็ดฝ่อ

 

โดยระยะการเติบโตของกล้านั้นจะอยู่ในช่วง 4 – 7 วัน รอให้มีใบจริงประมาณ 3 ใบขึ้น แล้วสังเกตุต้นที่อ่อนแอให้ทำการถอนทิ้งออก เหลือเพียง 2 – 3 ต้นต่อหลุม ถั่วฝักยาวเป็นพืชมีดอก และพืชดอกต้องการฟอสฟอรัสซึ่งต้องใส่อย่างเสมอประมาณ 15 วันครั้ง ส่วนเรื่องที่เราต้องรู้ก็คือพวกโรค และแมลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นง่ายในถั่วฝักยาว อย่างเช่นปัญหาจากเชื้อรา โรคราแป้ง หรือโรคใบจุด เมื่อสังเกตุพบจะต้องทำการแก้ไขในทันทีก่อนที่ผลผลิตจะเสียหาย
เชื้อราสามารถกำจัดฟังก์กัสเคลียร์ และตามด้วยการฉีดไตรโคเดอร์ม่า สำหรับป้องการเชื้อรากลับมารังควานอีก โดยจะต้องฉีดในช่วงเช้า ๆ หากฉีดในช่วงแดดแรงใบจะไหม้ได้ โดยจะต้องฉีดทุก ๆ ตือเนื่องประมาณ 3 วันครั้งเป็นอย่างต่ำ ส่วนแมลงหรือเพลี้ยสามารถใช้สารสกัดจากใบยาสูบ หรือ โทแบคโคใช้ฉีดพ่นได้ โดยสามารถฆ่าเพลี้ย และหนอนได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่แพ้สารเคมีสังเคราะห์ชนิดอื่น ๆ ฉีดพ่นให้ทั่วไร่ ผลผลิตครั้งแรกของถั่วฝักยาวจะสามารถเก็บได้เมื่ออายุประมาณ 55 วันเป็นต้นไป จากนั้นก็ทำการเพิ่มปุ้ยเหมือนเดิมในทุก ๆ 15 วัน เพื่อรอเก็บผลผลิตในรอบถัดไป